สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

การจัดการธาตุอาหารพืชเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ในพื้นที่ตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
(Nutrient - Management Planning for Productivity and Quality Improvement of Mango cv. Nam Dok Mai in Dongmullek District, Amphoe Muang, Phetchabun Province)

ปีงบประมาณ

2558

ประเภททุนวิจัย

พัฒนาชุมชนและท้องถิ่น

ลักษณะงานวิจัย

โครงการวิจัยเดี่ยว

ผู้รับผิดชอบ

กาญจน์ คุ้มทรัพย์, สุรเชษฐ เอี่ยมสำอาง, วรชัย ศรีเมือง และ อาทิตย์ หู้เต็ม

หน่วยงาน

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณธาตุอาหารในดินและใบมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองตําบลดงมูลเหล็ก อําเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเก็บตัวอย่างดิน 2 ระดับ คือดินชั้นบนและดินชั้นล่าง พร้อมกับเก็บตัวอย่างใบมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จากยอดของกิ่งที่ไม่มีผล โดยเก็บตัวอย่างทิศละ 2 ใบ แล้วนำใบจากทั้ง 4 ทิศมารวมกันเป็น 1 ตัวอย่างจากนั้นนำใบมะม่วงปั่นให้ละเอียด และนำเข้าตู้อบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 วัน แล้วนำไปวิเคราะห์หาธาตุอาหารจาการศึกษาพบว่าธาตุอาหารหลัก พบว่าไนโตรเจนมีการสูญเสียธาตุอาหารมากที่สุด ในขณะที่ธาตุอาหารรองและจุลธาตุมีปริมาณธาตุอาหารอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการเพาะปลูกพืชทั่วไป ปริมาณธาตุอาหารในใบมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง พบว่า เหล็กและแมงกานีสในระยะการให้ปุ๋ยและออกดอกมีระดับเพิ่มสูงขึ้นจากระยะหลังการเก็บเกี่ยวผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นค่าอ้างอิงธาตุอาหารในดินและใบมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองของพื้นที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อใช้ในการจัดการธาตุอาหารได้


This research was aimed to study quantity of soil nutrition and Nam Dok Mai mango leafs in Nam Dok Mai plantations, Dong Moon Lek Sub-district, Mueang Phetchabun District, Phetchabun Province. The two levels of soil sample were collected including topsoil and subsoil. Also, two Nam Dok Mai mango leafs were gathered from each direction of branch without fruits, and then leafs from four directions were combined as one sample. Subsequently, mango leafs were thoroughly blended and baked at temperature of 60 Celsius for two days. Afterwards, it was analyzed for nutrients. The findings indicated that nitrogen which is one of primary nutrient elements is lost most while secondary nutrient elements and micronutrient elements are in line with standard criteria for general cultivation. For Nam Dok Mai mango leafs, nutrient elements in zinc and manganese are increasing during fertilizer and blooming compared to the period after harvest. Thus, the findings can be applied as nutrient reference for soil and Nam Dok Mai mango leafs in the Nam Dok Mai plantations.

คำสำคัญ

มะม่วงน้ำดอกไม้, ธาตุอาหารหลัก, ธาตุอาหารพืช, Mango, Nutrient, Phetchabun, เพชรบูรณ์

หมายเหตุ

ดำเนินการเสร็จสิ้น