สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

การพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะและระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์
(Development of Intelligent Technology and Information Systems to Enhance the Elderly's Quality of Life in Phetchabun Province)

ปีงบประมาณ

2565

ประเภททุนวิจัย

พัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)

ลักษณะงานวิจัย

แผนงานวิจัย

ผู้รับผิดชอบ

ชัยสิทธิ์ วันน้อย, นฤมล จันทร์มา, ศรัญญา ตรีทศ, วรชัย ศรีเมือง และ วาสนา วงศ์ษา

หน่วยงาน

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะและระบบสารสนเทศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตสาหรับผู้สูงอายุ โดยเป้าหมายของงานวิจัยนี้คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านบุ่งคล้า ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 โครงการย่อยโดยจะประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นเครื่องมือที่เป็นการพัฒนานวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีไอโอที (IoT) เข้ามาใช้ในการออกแบบร่วมกับระบบสมองกลฝังตัวซึ่งประกอบไปด้วย ระบบควบคุมไฟฟ้าสำหรับบ้านอัจฉริยะและระบบเฝ้ามองสาธารณูปโภคและแจ้งเตือนความปลอดภัยภายในบ้านสำหรับผู้สูงอายุระบบควบคุมไฟฟ้าสำหรับบ้านอัจฉริยสามารถทำให้ผู้สูงอายุมีความสะดวกสะบายในการควบคุมโหลดและสามารถเฝ้าสังเกตุระบบไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ ในส่วนของระบบเฝ้ามองสาธารณูปโภคยังสามารถแจ้งเตือนหากแรงดันไฟฟ้าหรือแรงดันน้ำประปาต่ำและยังสามารถตรวจจับควันในบ้านเรือนและแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชันไลน์เพื่อวางแผนซ่อมบำรุงและระงับเหตุ อีกส่วนหนึ่งของแผนงานวิจัยคือการพัฒนาระบบสารสนเทศระบบบริการข้อมูลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุซึ่งเป็นระบบช่วยในการบันทึกข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพ การประเมินความเสี่ยงของโรค และสรุปผลการตรวจจากบันทึกข้อมูลสุขภาพโดยแพทย์ ระบบสามารถค้นหาและเรียกดูรายงานสุขภาพได้ง่ายและยังช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในแผนงานวิจัยยังได้ทำการวิเคราะห์และประมวลผลความสัมพันธ์ของข้อมูลผู้สูงอายุด้วยกระบวนการวิทยาการข้อมูลซึ่งได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลด้วยอัลกอริทึม K-Nearest Neighbors (K-NN) อัลกอริทึม Simple Linear Regression (SLR) และอัลกอริทึม Multiple Linear Regression (MLR) ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญในพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุต่อไปในอนาคต


This research presents the development of intelligent technology and information systems to enhance the elderly's quality of life. The goal of this research is elderly group Ban Bung Khla Community, Bung Khla Subdistrict, Lom Sak District, Phetchabun Province which consists of 4 subprojects. It will consist of the part that is an innovation development tool using IoT technology to be used in the design together with the embedded system. Which, consists of development of electrical control system for smart home and home utilities monitoring and safety alert system for elderly. Electrical control systems for smart homes can make it easier for the elderly to control their loads and can monitor electrical system in real time. In a part of the utilities monitoring system, can also alert if the voltage or water supply is low and can also detect smoke in the house and alert via LINE application to plan maintenance and suppress the incident. Another part of the research is the development of information systems for the Elderly health information service system, which is a system that helps to record health behaviors, disease risk assessment and summarize the results of the examination from the health record by a doctor. The system can search and retrieve health reports more easily and also allows for faster access to information. In addition, the research plan also conducted research on analyzing and processing the relationship of the elderly data through the process of data science. The results were compared with the K-Nearest Neighbors (K-NN), Simple Linear Regression (SLR) and Multiple Linear Regression (MLR) algorithms. This is important information to improve the quality of the elderly life in the future.

คำสำคัญ

เทคโนโลยีอัจฉริยะ, ไอโอที, ระบบสารสนเทศ, วิทยาการข้อมูล, ผู้สูงอายุ, Intelligent Technology, IoT, Information System, Data Science, Elderly

หมายเหตุ

ดำเนินการเสร็จสิ้น