ปีงบประมาณ
2566
ประเภททุนวิจัย
พัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)
ลักษณะงานวิจัย
แผนงานวิจัย
ผู้รับผิดชอบ
จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว, ชัยสิทธิ์ วันน้อย, นฤมล วันน้อย, วรชัย ศรีเมือง, วาสนา วงศ์ษา และ พรทิศา ทองสนิทกาญจน์
หน่วยงาน
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การออกแบบระบบติดตามการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองผ่านการจำแนกขนาดด้วยวิธีการประมวลผลภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบติดตามการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองผ่านการจำแนกขนาดด้วยวิธีการประมวลผลภาพ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยการนำเทคนิคการประมวลผลภาพ และการมองเห็นของคอมพิวเตอร์ มาใช้ในกระบวนการติดตามการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองไปจนถึงการคัดแยกขนาดของไก่ ซึ่งระบบประกอบด้วยชุดประมวลผลด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ราสเบอร์รี่พาย กล้องตรวจจับภาพ สั่งงานและควบคุมเซอร์โวมอเตอร์เพื่อเปิดปิดประตูชุดอุปกรณ์ของระบบเมื่อคัดแยกขนาด การพัฒนาระบบเริ่มจากขั้นตอนการเตรียมชุดข้อมูลภาพ (data set) โดยจัดเก็บและบันทึกผลภาพ และน้ำหนักของไก่พื้นเมืองแต่ละสัปดาห์ หลังจากนั้นนำไปประมวลผลภาพตามขั้นตอนได้แก่ การแปลงให้เป็นภาพระดับเทา การลดสัญญาณรบกวน การแยกส่วนภาพไก่ออกจากส่วนอื่นด้วย YOLOv8 SAM แล้วทำการแยกพื้นหลังกำหนดค่าเทรชโฮลด์แบบโอตสึ (Otsu) และการหาขอบภาพและทำการคำนวนพื้นที่ค่าพิกเซลภายในบริเวณขอบภาพของวัตถุเฉพาะส่วนลำตัวของไก่ ผู้วิจัยได้สร้างโมเดลการทำนายค่าน้ำหนักแบบ Linear Regression ที่มีค่าระดับความแม่นยำโดยประมาณ 83.007% การทดสอบทำนายผลการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมืองเทียบกับน้ำหนักจริงมีค่า R2 = 0.833 แสดงระดับความแม่นยำโดยประมาณ 83.3 % การทดสอบการจำแนกระดับขนาดของไก่พื้นเมืองแบ่งเป็น 2 ระดับคือ ขนาดเล็ก (Small) และขนาดใหญ่ (Large) ซึ่งระบบสามารถจำแนกขนาดได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพคิดเป็น 100 % แสดงได้ว่าโมเดลการประมวลผลภาพที่สร้างขึ้นนี้สามารถใช้ในการจำแนกขนาดของไก่พื้นเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การออกแบบระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับชุดจัดเก็บพลังงานสำหรับโรงเรือนเลี้ยงไก่และการพัฒนาสู่ระบบไมโครกริด เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของชุมชน งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการออกแบบระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับชุดจัดเก็บพลังงานสำหรับโรงเรือนเลี้ยงไก่และการพัฒนาสู่ระบบไมโครกริดเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของชุมชน โดยในการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นั้นได้ออกแบบในรูปแบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (Stand Alone System) หรือระบบออฟกริด ซึ่งเป็นการคำนวณหาที่เหมาะสมของกำลังผลิตตามรูปแบบโหลดไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งประกอบไปด้วยการคำนวณหาขนาดแบตเตอรี่ ชาร์จเจอร์ อินเวอร์เตอร์ และขนาดของแผงโดยขบวนการในการคำนวณนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้ศึกษาเพื่อการพัฒนาสู่ระบบไมโครกริดเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของชุมชน โดยจากการศึกษาพบว่าลักษณะชุมนั้นจะอยู่ติดกันเป็นกลุ่มซึ่งหากแต่ละครัวเรือนมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ในครัวเรือนจะมากหรือจะน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละครัวเรือนซึ่งกำลังผลิตที่ได้สามารถสร้างเป็นโครงข่ายขนาดเล็กได้โดยในการศึกษาได้ลองคำนวณกลุ่มครัวเรือนที่อยู่ใกล้กันและลองสร้างรูปแบบโครงสร้างไมโคกริดพลังงานแสงอาทิตย์โดยระบบได้ออกแบบให้มีระดับแรงดัน 36 Vdc และใช้ขนาดแผง 360W 1 แผง ต่อครัวเรือน โดยทั้งหมดมีจำนวน 14 ครัวเรือน ซึ่งมีความยาวของสายทั้งหมด 321.45 เมตร ดังนั้นจะเห็นได้ว่าชุมชนจะมีกำลังไฟฟ้าติดตั้งจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมดถึง 5,040W ใช้ร่วมกันในชุมชุม ซึ่งเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับชุมชนได้
โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ระบบตรวจวัดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและสภาพแวดล้อมโรงเรือนเลี้ยงไก่แบบเรียลไทม์ผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อการวางแผนการจัดการด้านพลังงาน งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาวิจัยระบบตรวจวัดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าและสภาพแวดล้อมโรงเรือนเลี้ยงไก่แบบเรียลไทม์ผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อการวางแผนการจัดการด้านพลังงาน โดยวัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้เพื่อออกแบบระบบตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าและสภาพแวดล้อมโรงเรือนเลี้ยงไก่แบบเรียลไทม์ผ่านสมาร์ทโฟน และเพื่อออกแบบแผนการจัดการพลังงานสำหรับลดต้นทุนการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับเกษตรผู้เลี้ยงไก่ อีกทั้งใช้เป็นต้นแบบในการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบตรวจสอบการใช้พลังงานและสภาพแวดล้อมโรงเรือนเลี้ยงไก่แบบเรียลไทม์ผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อพัฒนาสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ โดยในการศึกษานั้นได้จากการดำเนินงานในการติดตั้งในสถานที่จริง ณ โรงเรือนของกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ท่าพล โดยผลการทดสอบและประเมินผลประสิทธิภาพชุดควบคุมและติดตามสมรรถนะพบว่าค่าความผิดพลาดโดยเฉลี่ยการอ่านค่าแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 0.19% ค่ากระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 2.28% ค่าความชื้นอากาศอยู่ที่ 0.97% และอุณหภูมิอากาศอยู่ที่ 2.24%
สำหรับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงกำลังไฟฟ้าและสภาพแวดล้อมในโรงเรือนพบว่าเครื่องสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาซึ่งให้เห็นสภาพที่แท้จริงในการควบคุมเปิดปิดไฟฟ้าในการอนุบาลไก่เพื่อให้เกิดการประหยัดและใช้พลังงานให้เหมาะสมกับสภาพที่แท้จริง
โครงการวิจัยย่อยที่ 4 การส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นเมืองสู่มาตรฐานความปลอดภัยทางด้านอาหารแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองในจังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการสำรวจเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง จำนวน 100 ราย พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 69) มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 31) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 64) มีประสบการณ์การเลี้ยง 1-5 ปี (ร้อยละ 61) แต่ละครัวเรือนมีสมาชิก 1-4 คน (ร้อยละ 74) ใช้พื้นที่ในการเลี้ยง 100-200 ตารางวา (ร้อยละ 49) เลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นอาชีพเสริม (ร้อยละ 96) โดยเลี้ยงแบบอิสระ(ร้อยละ 98) เพื่อการบริโภคเป็นหลัก (ร้อยละ 84) สายพันธุ์ที่เลี้ยงเป็นไก่พันธุ์พื้นเมือง (ร้อยละ 96) ลักษณะเป็นฟาร์มครบวงจร (ร้อยละ 54) เลี้ยงปล่อยธรรมชาติ (ร้อยละ 59) และขังในโรงเรือน (ร้อยละ 23) ลักษณะโรงเรือนเป็นเพิงหมาแหงน (ร้อยละ 66) โครงสร้างเป็นไม้ (ร้อยละ 91) และใช้ตาข่ายลวดหรือพลาสติกกั้นเป็นผนังโรงเรือน (ร้อยละ 43) เกษตรกรจะผสมอาหารเอง (ร้อยละ 81-90) ไม่มีการผสมวิตามินลงในน้ำให้ไก่กิน (ร้อยละ 82) ใช้น้ำประปาเลี้ยงไก่ (ร้อยละ 53) ด้านการจัดการสุขภาพไก่เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ทำวัคซีน (ร้อยละ 83) และไม่มีระบบฆ่าเชื้อโรค (ร้อยละ 89) กรณีเป็นโรคจึงมักจะไม่มีการใช้ยา (ร้อยละ 60) แต่กลุ่มที่มีการใช้ยาจะใช้ยารักษาระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ 12) มีการใช้สมุนไพร (ร้อยละ 24) พื้นที่เลี้ยงไก่ไม่เคยเกิดโรคระบาด (ร้อยละ 73) กำจัดซากโดยการขุดหลุมฝัง (ร้อยละ 91) ฤดูที่เกิดโรคบ่อย คือฤดูฝน (ร้อยละ 67) เกษตรกรที่มีคู่มือบันทึกการจัดการฟาร์มมีเพียงร้อยละ 7 ด้านการจำหน่ายเกษตรกรขายโดยคิดราคาตามน้ำหนักตัว (ร้อยละ 76) และราคาขายอยู่ระหว่า 80-90 บาทต่อกิโลกรัม
จากข้อมูลการสำรวจจึงนำมาการสู่ขับเคลื่อนฟาร์มเพื่อผลักดันฟาร์มเกษตรรายย่อยให้เข้าสู่ฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม จึงดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้าน Good farming management (GFM) และวางแผนเตรียมความพร้อมการตรวจประเมินเพื่อการขอรับการประเมินและขอใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม
โครงการวิจัยย่อยที่ 5 การเสริมเมล็ดธัญพืชที่เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง การเสริมเมล็ดธัญพืชที่เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพการผลิตไก่พื้นเมืองที่ได้รับการเสริมถั่วเขียวและถั่วเหลืองในอาหารที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ ทำการวางแผนการทดลองแบบสมบูรณ์ ปัจจัยที่ใช้ในการทดลองมี 3 ปัจจัย คือ 1) เลี้ยงด้วยอาหารพื้นฐานเป็นกลุ่มควบคุม 2) เลี้ยงด้วยอาหารพื้นฐานเสริมเมล็ดถั่วเขียวบดหยาบ 4 เปอร์เซ็นต์ และ 3 เลี้ยงด้วยอาหารพื้นฐานเสริมเมล็ดถั่วเหลืองบดหยาบ 4 เปอร์เซ็นต์ แต่ละปัจจัยจะทำการทดลอง 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ไก่ทดลองเป็นไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่อายุ 2 สัปดาห์ ระยะเวลาที่ทำการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์
ผลการเสริมถั่วเขียวและถั่วเหลืองในอาหารที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยอัตราการเจริญเติบโต (ADG) และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (FCR) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และไม่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยคุณภาพซากโดยรวม ทั้งเปอร์เซ็นต์ซากหลังฆ่า และเปอร์เซ็นต์ซากตัดแต่ง (P>0.05) ส่วนผลต่อปริมาณค่าไขมันในเลือด พบว่าการเสริมถั่วเขียวและถั่วเหลืองในอาหารที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ ไม่ส่งผลต่อค่าปริมาณไขมันในเลือดทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ค่าเฉลี่ยคลอเลสเตอรอล (Cholesterol) ค่าเฉลี่ยไตรกลีเซอไรด์ (TG) ค่าเฉลี่ยเอชดีแอล (HDL) และค่าเฉลี่ยแอลดีแอล (LDL) มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (P>0.05) ด้านต้นทุนการผลิตไก่เนื้อที่เสริมถั่วเขียวและถั่วเหลืองในอาหารที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ พบว่าให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
โครงการวิจัยย่อยที่ 6 อาหารสมทบจากขนไก่พื้นเมืองป่นเพื่อเลี้ยงปลากินพืชในรูปแบบการเลี้ยงกึ่งพัฒนา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอาหารสมทบจากขนไก่พื้นเมืองป่นในการเลี้ยงปลากินพืชในการเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา มี 2 การทดลองย่อย คือ 1. ผลของการปรับปรุงคุณลักษณะของขนไก่ป่นและโภชนะที่เป็นองค์ประกอบในขนไก่ป่น และ 2. การพัฒนาอาหารสมทบจากขนไก่พื้นเมืองป่นในการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวรูปแบบกึ่งพัฒนา โดยรูปแบบของอาหารสมทบ ได้แก่ ขนไก่ป่นที่หมักด้วยแกนสับปะรด ขนไก่ป่นหมักด้วยเปลือกมะละกอดิบ อาหารผสมสำเร็จที่ใช้ขนไก่ป่นหมักด้วยแกนสับปะรดทดแทนปลาป่นในสูตรอาหาร และอาหารผสมสำเร็จที่ใช้ขนไก่ป่นหมักด้วยเปลือกมะละกอดิบทดแทนปลาป่นในสูตรอาหาร วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ เลี้ยงปลาตะเพียนขาวด้วยอาหารสมทบในปริมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน วันละ 2 มื้อ ทำการสุ่มชั่งน้ำหนักเพื่อปรับปริมาณอาหารและเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตทุก 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์
เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปลาตะเพียนขาวที่ได้รับอาหารสมทบในทุกรูปแบบให้ผลการเจริญเติบโตที่ดีกว่าชุดควบคุม และอาหารสมทบในทุกรูปแบบมีผลต่อค่าน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และอัตราการรอดตาย ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.05) ส่วนต้นทุนค่าอาหาร พบว่า ต้นทุนของอาหารสมทบจากขนไก่ป่นมีราคาต่ำกว่าอาหารทางการค้าทั่วไป
ดังนั้น การใช้ขนไก่พื้นเมืองป่นเป็นอาหารสมทบเพื่อเลี้ยงปลาตะเพียนขาวแบบกึ่งพัฒนามีผลต่อการเจริญเติบโตของปลา โดยอาหารสมทบในรูปแบบอาหารผสมสำเร็จให้ผลดีกว่ารูปแบบอื่น และการใช้ขนไก่ป่นเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำ ยังช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์น้ำได้
Sub Project 1: The Design of the Native Chicken Growth Tracking System through the Size Classification using Image Processing. The objective of this research is to design and develop a system to track the growth of native chickens through size classification using image processing methods and to evaluate the efficiency of the system by applying computer image and visual processing techniques in the process of tracking the growth of native chickens to sorting the size of chickens. Image Detection Camera Operate and control the servo motor to open and close the system unit door when sorting the size. The development of the system began with the preparation of a data set by storing and recording the results and weight of native chickens each week. After that, the image is processed according to the following steps: conversion to grayscale image, noise reduction. By separating the chicken image from the rest with YOLOv8 SAM, the background separation is performed by configuring the Otsu threshold and finding the edges of the image and calculating the pixel value area within the image edge of the subject only to the body of the chicken. The test predicted the growth of native chickens relative to their actual weight with a value of R2 = 0.833, showing an approximate accuracy level of 83.3%, shows that the image processing model can be used to effectively classify the size of native chickens.
Sub Project 2: The Design of Solar Energy System with Battery Storage for Poultry Houses and Development to the Micro-Grid System for Community Energy Sustainability. This research presents the design of solar energy system with battery storage for poultry houses and development to the micro-เrid system for community energy sustainability. In designing the solar power generation system, it is designed in the form of independent solar cells (Standalone system) or off-grid system. This is an appropriate calculation of the production capacity according to the changing electrical load patterns. This includes calculating the size of the battery, charger, and inverter and the size of the panels by this calculation process can be applied to design larger solar power generation systems. In addition, the research also studies the development of a microgrid system for community energy security. From the study, it was found that the nature of the community is that it is next to each other in groups. If each household brings solar energy into the household, it will be more or less depending on the ability of each household and the production capacity that can be created. It is a small network. In the study, we tried calculating groups of households that are close to each other and tried to create a solar energy microgrid structure. The system was designed to have a voltage level of 36 Vdc and use a panel size of 360W, 1 panel per household. In total there are 14 households, with a total cable length of 321.45 meters, so it can be seen that the community will have a total of 5,040W of installed power from solar panels shared in the community which increases energy security for the community.
Sub Project 3: Real-time Power Consumption and Poultry House Environment Monitoring System via Smartphone for Energy Management Planning. This research presented real-time power consumption and poultry house environment monitoring system via smartphone for energy management planning. The objective of this research is to design a system for real-time monitoring of electrical energy use and the environment of poultry houses through a smartphone and to design an energy management plan to reduce the cost of electricity consumption for poultry farmers. It is also used as a model for transferring technology to monitor energy use and the environment in real-time chicken houses through smartphones to develop into an intelligent agricultural system. The study was obtained from the actual installation work at the greenhouse of the Tha-Phon poultry raising group. The results of the test and evaluation of the performance of the control and monitoring unit found that the average error in the voltage reading was 0.19%, the electric current value was 2.28%, the air humidity value was 0.97%, and the air temperature value was 2.24%.
For the study of changes in electrical power and the environment in the house, it was found that the machine was able to track changes at all times, which showed the true condition of controlling the electricity on and off in the poultry nursery in order to save and use energy appropriately with the actual condition.
Sub Project 4: The promoting and development of native chicken production to food safety standards for native chicken farmers in Phetchabun province. A total of 100 native chicken farmers were conducted a survey by questionnaires. The results showed that most of the farmers were male, 69.00 %, aged 60 years or over, 31.00 %, 64.00 % had primary school education, and 61.00 % had experience in raising cattle during 1 to 5 years. Each household has 1-4 members, 74.00 %, Use an area of 100-200 square meters for raising chickens, 49.00 %, Farmers raise local chickens as an additional occupation, 96.00 %, They are raised free-range, 98.00 % and mainly for consumption, 84.00%, Local chicken. breed, 96.00%, Complete farm, 54.00 %, They were raised in freedom, 59.00 % and 23.00 % raised in house. The style of the house was a shed, 66.00 %, a wooden structure, 91.00 %, and wire mesh or plastic netting used as a wall, 43.00 %, Farmers mix their own feed, 81.00-90.00 %, do not mix vitamins into water for chickens, 82.00 %, use tap water to raise chickens, 53.00 %. Chicken health management, 83.00 % of farmers were not vaccinated and do not a disinfection system, 89.00 %. In cases of disease, medicine is usually not used, 60.00 % but 12.00 % of the farmers used drugs to treat the respiratory system, and herbs are used, 24.00 %. An epidemic never spread in this area, 73.00 %, Digging holes for dispose the carcasses, 91.00 %. Rainy season is the most disease season, 67.00 %, Only 7 percent of farmers have a farm management manual. In terms of sales, 76.00 % of farmers sell at a price based on body weight and the selling price is between 80-90 baht per kilogram.
Sub Project 5: Whole Grains as a Protein Source Supplementation in Feed on Growth Efficiency of native chicken. The objective of this research was to evaluate the whole grains as a protein source supplementation in feed on growth efficiency of native chicken. There were three treatments of the whole grain supplementation, including no supplemented, 4 percent mung bean coarse grind and 4percent soybean coarse grind supplemented in the diets, and assigned in a completely randomized design. Each treatment consisted of 3 replications with 10 chicks each, Pra Du Hang Dum Chiang Mai Breeds at 2 weeks of age. The experiment lasted for 8 weeks.
The results showed that the average daily gain (ADG) and feed conversion ratio (FCR) of those receiving 4percent supplementation of mung bean coarse grind and soybean coarse grind groups were not significantly different compared with no supplemented group (P>0.05). All groups of this experiments were not significantly on carcass quality, carcass percentage, and dressing percentage (P>0.05). The total blood lipid profile, Cholesterol, Triglyceride (TG), High density lipoprotein (HDL) and Low density lipoprotein (LDL) were not significantly different (P>0.05). Regarding the cost of producing broiler chickens supplemented with mung beans and soybeans at the level of 4 percent, it was found that the return was not worth the investment
Sub Project 6: Supplemental Feed from Hydrolysis Feather Meal for Rearing Herbivore Fish in Semi-Intensive Culture System. The purpose of this research was to study the effect of supplemental feed from native chicken feather meal for raising fish in a semi-intensive culture. There were 2 sub-experiments: 1. The results of improving the characteristics and component nutrients of hydrolysis native chicken feather meal and 2. Development of supplemental feed from native chicken feather meal for rearing silver barb in semi-intensive culture. The form of supplemental feed includes hydrolysis native chicken feather meal with pineapple cores, hydrolysis native chicken feather meal with raw papaya peel, complete feed that uses hydrolysis native chicken feather meal with pineapple cores to replace fish meal, and complete feed that uses hydrolysis native chicken feather meal with raw papaya peel to replace fish meal. Three randomized, complete randomized trials (CRD) were planned. Fed at 5% of their body weight per day, divided into two meals a day. Weight to adjust feed intake and growth data were collected every 2 weeks for a period of 8 weeks.
It was found that the silver barb that received all forms of supplemental feed had better growth results than the control group. All forms of supplemental feed affect the final weight, weight gain, weight gain per day, feed intake, feed conversion ratio and survival rate are significantly different (P ≤ 0.05). Cost of feed, it was found that the cost of supplemental feed made from hydrolysis native chicken feather meal was lower than commercial feed.
Therefore, using native chicken feather meal as supplemental feed to raise semi-intensive silver barb has an effect on the growth. The supplemental feed in form of complete feed gives better results than other forms. And the use of native chicken feather meal as a raw material for aquatic animal feed helps reduce the cost of aquatic animal feed.
คำสำคัญ
เทคโนโลยี, นวัตกรรม, ไก่พื้นเมือง, จังหวัดเพชรบูรณ์, Technology, Innovation, Native Chickens, Phetchabun Province
หมายเหตุ
ดำเนินการเสร็จสิ้น