ปีงบประมาณ
2566
ประเภททุนวิจัย
พัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)
ลักษณะงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยย่อย
ผู้รับผิดชอบ
วรชัย ศรีเมือง, จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว และ พิพัฒน์ ชนาเทพาพร
หน่วยงาน
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
บทคัดย่อ
การเสริมเมล็ดธัญพืชที่เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพการผลิตไก่พื้นเมืองที่ได้รับการเสริมถั่วเขียวและถั่วเหลืองในอาหารที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ ทำการวางแผนการทดลองแบบสมบูรณ์ ปัจจัยที่ใช้ในการทดลองมี 3 ปัจจัย คือ 1) เลี้ยงด้วยอาหารพื้นฐานเป็นกลุ่มควบคุม 2) เลี้ยงด้วยอาหารพื้นฐานเสริมเมล็ดถั่วเขียวบดหยาบ 4 เปอร์เซ็นต์ และ 3 เลี้ยงด้วยอาหารพื้นฐานเสริมเมล็ดถั่วเหลืองบดหยาบ 4 เปอร์เซ็นต์ แต่ละปัจจัยจะทำการทดลอง 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ไก่ทดลองเป็นไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำเชียงใหม่อายุ 2 สัปดาห์ ระยะเวลาที่ทำการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์
ผลการเสริมถั่วเขียวและถั่วเหลืองในอาหารที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยอัตราการเจริญเติบโต (ADG) และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว (FCR) แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) และไม่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยคุณภาพซากโดยรวม ทั้งเปอร์เซ็นต์ซากหลังฆ่า และเปอร์เซ็นต์ซากตัดแต่ง (P>0.05) ส่วนผลต่อปริมาณค่าไขมันในเลือด พบว่าการเสริมถั่วเขียวและถั่วเหลืองในอาหารที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ ไม่ส่งผลต่อค่าปริมาณไขมันในเลือดทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ค่าเฉลี่ยคลอเลสเตอรอล (Cholesterol) ค่าเฉลี่ยไตรกลีเซอไรด์ (TG) ค่าเฉลี่ยเอชดีแอล (HDL) และค่าเฉลี่ยแอลดีแอล (LDL) มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (P>0.05) ด้านต้นทุนการผลิตไก่เนื้อที่เสริมถั่วเขียวและถั่วเหลืองในอาหารที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ พบว่าให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
The objective of this research was to evaluate the whole grains as a protein source supplementation in feed on growth efficiency of native chicken. There were three treatments of the whole grain supplementation, including no supplemented,
4 percent mung bean coarse grind and 4percent soybean coarse grind supplemented in the diets, and assigned in a completely randomized design. Each treatment consisted of 3 replications with 10 chicks each, Pra Du Hang Dum Chiang Mai Breeds at 2 weeks of age. The experiment lasted for 8 weeks.
The results showed that the average daily gain (ADG) and feed conversion ratio (FCR) of those receiving 4percent supplementation of mung bean coarse grind and soybean coarse grind groups were not significantly different compared with no supplemented group (P>0.05). All groups of this experiments were not significantly on carcass quality, carcass percentage, and dressing percentage (P>0.05). The total blood lipid profile, Cholesterol, Triglyceride (TG), High density lipoprotein (HDL) and Low density lipoprotein (LDL) were not significantly different (P>0.05). Regarding the cost of producing broiler chickens supplemented with mung beans and soybeans at the level of 4 percent, it was found that the return was not worth the investment.
คำสำคัญ
การเสริม, เมล็ดธัญพืช, ไก่พื้นเมือง, ประสิทธิภาพการเจริญเติบโต, Supplementation, Native chicken Growth, Efficiency, Whole Grains
หมายเหตุ
ดำเนินการเสร็จสิ้น