สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกร ผู้เลี้ยงแพะเนื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

ปีงบประมาณ

2566

ประเภททุนวิจัย

พัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)

ลักษณะงานวิจัย

แผนงานวิจัย

ผู้รับผิดชอบ

ชัยสิทธิ์ วันน้อย, จันทร์จิรา โต๊ะขวัญแก้ว, นฤมล วันน้อย, วรชัย ศรีเมือง, วาสนา วงศ์ษา, พรทิศา ทองสนิทกาญจน์ และ ศิวดล แจ่มจำรัส

หน่วยงาน

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยย่อยที่ 1  วิทยาการข้อมูลเพื่อช่วยวิเคราะห์ คาดการณ์ล่วงหน้าในการสนับสนุนและตัดสินใจวางแผนการผลิตแพะเนื้อ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ จากผลการพยากรณ์ข้อมูลการเจริญเติบโตของแพะเนื้อสำหรับสร้างเป็นตัวแบบในการพยากรณ์และการพยากรณ์แพะเนื้อสายพันธุ์ผสม เปรียบเทียบระหว่าง อัลกอริทึม Linear Regression (SLR) และ Multi Linear Regression (MLR) แสดงข้อมูลแต่ละตัวเป็นจุด (Scatter) ตามอัตราการเจริญเติบโต และน้ำหนัก อัตราการฝึกสอน 80% อัตราการทดสอบ 20% เพื่อนำมาวิเคราะห์หาอัตราการเจริญเติบโตของแพะเนื้อระหว่างอายุ 0–4 เดือน 4-12 เดือน และ 12-24 เดือน อัตราการเจริญเติบโตช่วงอายุแรกเกิด 0–4 เดือน สายพันธุ์ บอร์-ไทยพื้นเมือง และ สายพันธุ์แองโกลนูเบียน-ไทยพื้นเมือง พบว่า 2 สายพันธุ์นี้มีการเจริญเติบโต แรกเกิด 0 เดือน จนไปถึง 4 เดือน ที่ 15-17 กิโลกรัม สายพันธุ์บอร์-โกลนูเบียน และสายพันธุ์แบล็ค แบงโก-แองโกลนูเบียน มีอัตราการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน อัตราการเจริญเติบโตช่วงอายุ 4 เดือน จนไปถึง 12 เดือน สายพันธุ์บอร์-ไทยพื้นเมือง มีอัตราการเจริญเติบโตระหว่าง 80-90 กิโลกรัม สายพันธุ์แองโกลนูเบียน-ไทยพื้นเมือง มีอัตราสัดส่วนที่น้อยกว่า อยู่ระหว่าง 60-70 กิโลกรัม สายพันธุ์บอร์-โกลนูเบียน 55-70 กิโลกรัม สายพันธุ์แบล็ค แบงโก-แองโกลนูเบียน มีการเจริญเติบโตระดับกระจายมากที่ 30-70 กิโลกรัม อัตราการเจริญเติบโตช่วงอายุ 12 เดือน จนไปถึง 24 เดือน สายพันธุ์บอร์-ไทยพื้นเมือง มีอัตราการเจริญเติบโตระหว่าง 60-100 กิโลกรัม สายพันธุ์แองโกลนูเบียน-ไทยพื้นเมือง มีอัตราสัดส่วนที่น้อยกว่าลงไปมาก สายพันธฺบอร์-โกลนูเบียน 85-90 กิโลกรัม สายพันธุ์แบล็ค แบงโก-แองโกลนูเบียน มีการเจริญเติบโตระดับกระจายค่อนข้างมากมากที่ 75-80 กิโลกรัม
 
ผลลัพธ์ที่ได้จากการพยากรณ์ข้อมูลการเจริญเติบโตแพะเนื้อด้วยอัลกอริทึม Multi Linear Regression สามารถทำนายแพะที่จะโตขึ้นและพร้อมจะส่งขายในอนาคต หรือการประมาณด้านค่าใช้จ่ายภายในฟาร์ม รวมไปถึงสามารถนำไปใช้ในการจัดการฟาร์ม การให้อาหาร การเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ตลอดจนการเตรียมการสำหรับส่งออกไปยังโรงเชือด และการส่งออกไปต่างประเทศ ตัวแบบหรือโมเดลจากขั้นตอนวิธีวิทยาการข้อมูลจะถูกนำมาประกอบการตัดสินใจ รวมไปถึงแพะที่เหมาะสำหรับเป็นพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ เป็นต้นแบบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะ-แกะ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในฟาร์มของเกษตรกร หรือผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นเลี้ยงแพะเนื้อต่อไปในอนาคต
 
 
โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การพัฒนาแอปพลิเคชันบริหารจัดการข้อมูลแพะคอกกลางแบบเรียลไทม์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะเนื้ออำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแอปพลิเคชันบริหารจัดการข้อมูลแพะคอกกลางแบบเรียลไทม์ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะเนื้อ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาซอฟต์แวร์ตามกระบวนการ SDLC โดยลงพื้นที่ศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งานคือ เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงแพะเนื้อ ระบุความต้องการเชิงฟังก์ชัน ทำการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชันด้วยภาษาพีเอชพี ออกแบบหน้าจอซึ่งเป็นส่วนต่อประสานผู้ใช้งานเพื่อจัดเก็บบันทึกข้อมูลลงบนฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบไปด้วยฟังก์ชันในการบันทึกข้อมูลผู้ใช้งาน ข้อมูลฟาร์มแพะ ข้อมูลแพะ ข้อมูลการซื้อ-ขายแพะ รายงานข้อมูลการซื้อ-ขายแพะ และเมนู Data Virtualization สำหรับนำเสนอข้อมูลสรุปในรูปแบบกราฟต่างๆ ที่แสดงผลบนแดชบอร์ด ผู้ใช้งานสามารถส่งออกและพิมพ์รายงานสรุปได้ในรูปแบบไฟล์ การใช้งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ได้ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน และเครื่องแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ และทำการทดสอบแบบอัลฟา โดยนำชุดข้อมูลที่ถูกจำลองขึ้นมาป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อทำการประมวลผล การทดสอบประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสารสนเทศพบว่าผลการประเมินประสิทธิภาพทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านการออกแบบ ด้านประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน และด้านประโยชน์ในการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยรวม 4.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 อยู่ในระดับมากที่สุด สามารถช่วยอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรในด้านการบันทึกข้อมูลของคอกกลางฟาร์มแพะ ช่วยให้การบริหารจัดการคอกกลางฟาร์มแพะอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
 
โครงการวิจัยย่อยที่ 3 ระบบโรงเรือนพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตามการใช้พลังงานด้วยเทคโนโลยีไอโอทีสำหรับฟาร์มแพะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอระบบโรงเรือนพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตามการใช้พลังงานด้วยเทคโนโลยีไอโอทีสำหรับฟาร์มแพะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยในงานวิจัยนั้นได้ออกแบบและสร้างเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Standalone system) และนำเสนอวิธีการศึกษาในการการหาขนาดที่เหมาะสมของการผลิตไฟฟ้าพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ตามขนาดและรูปแบบการเปลี่ยนของโหลดไฟฟ้าแบบอิสระโดยใช้งานร่วมกับชุดแบตเตอรี่ นอกจากนี้ได้ออกแบบระบบติดตามการใช้พลังงานไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถติดตามการตรวจวัด ค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้า และค่าจำกัดของระบบ ซึ่งประกอบไปด้วย ค่าจำกัดกระแสของไฟฟ้า ค่าจำกัดของกำลังไฟฟ้าติดตั้ง และเปอร์เซ็นต์ของปริมาณโหลด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงกำลังไฟฟ้า โดยประสิทธิภาพในการตรวจวัดในส่วนของกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.51% และสำหรับในการตรวจวัดในส่วนของแรงดันไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.24% เพื่อให้สามารถตรวจสอบสมรรถนะและขีดจำกัดของระบบได้แบบเรียลไทม์ โดยผลการวิจัยนั้นพบว่าระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์นี้สามารถจ่ายพลังงานให้กับระบบส่องสว่างไล่แมลงได้คลอบคลุมช่วงเวลาทำงานของเกษตรกรที่ต้องการซึ่งสามารถช่วยเกษตรกรประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงเรือนสำหรับเลี้ยงแพะได้โดยตรง และสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดร่วมกับนวัตกรรมด้านไอโอทีในการติดตามและประเมินสมรรถนะของระบบผลิตไฟฟ้า สำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและกลุ่มเกษตรกรที่สนใจในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ได้
 
 
โครงการวิจัยย่อยที่ 4 ระบบควบคุมการรดน้ำแปลงหญ้าระยะไกลโดยใช้พลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับระบบติดตามสมรรถนะด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาวิจัยระบบควบคุมการรดน้ำแปลงหญ้าระยะไกลโดยใช้พลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับระบบติดตามสมรรถนะด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง โดยวัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้เพื่อออกแบบระบบควบคุมการรดน้ำแปลงหญ้าระยะไกลโดยใช้พลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับระบบติดตามสมรรถนะด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งและเพื่อลดต้นทุนด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าและแรงงานในการรดน้ำแปลงหญ้ากลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงแพะแกะใช้เป็นต้นแบบในการถ่ายทอดนวัตกรรมเทคโนโลยีระบบควบคุมการรดน้ำแปลงหญ้าระยะไกลโดยใช้พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์เพื่อพัฒนาสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ โดยในการศึกษานั้นได้จากการดำเนินงานในการติดตั้งในสถานที่จริง ณ แปลงหญ้าของกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ โดยผลการทดสอบและประเมินผลประสิทธิภาพชุดควบคุมและติดตามสมรรถนะพบว่าค่าความผิดพลาดโดยเฉลี่ยการอ่านพบว่าค่าความชื้นอากาศอยู่ที่ 1.98% และอุณหภูมิอากาศอยู่ที่ 0.22% นอกจากนี้ค่าความผิดพลาดโดยเฉลี่ยการอ่านค่าความชื้นดินอยู่ที่ 1.38% และสำหรับการทดสอบการสั่งการทำงานในการควบคุมโหลดโดยประกอบไปด้วยปั๊มน้ำ โซลินอยล์วาล์ว 3 ชุด ซึ่งสามารถทำงานได้แม่นยำทั้ง 10 ครั้ง ซึ่งคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์
 
ยิ่งไปกว่านั้น ระบบควบคุมการรดน้ำแปลงหญ้าระยะไกลโดยใช้พลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับระบบติดตามสมรรถนะด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งนี้ สามารถช่วยสร้างความสะดวกในการควบคุมและติดตามการรดน้ำแปลงหญ้าในระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี 
 
 
โครงการวิจัยย่อยที่ 5 คุณค่าทางโภชนะและผลการใช้ต้นข้าวโพดผสมกระถินหมักต่อสมรรถภาพการผลิตแพะเนื้อ มีวัตถุประสงค์พื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนะและสมรรถภาพการผลิตแพะเนื้อที่ได้รับต้นข้าวโพดหมักร่วมกับกระถินที่ระดับ 0, 10 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ทำการทดลองในแพะเนื้อ อายุ 3-4 เดือน เป็นระยะเวลา 56 วัน แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ซ้ำ ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนะ พบว่า ต้นข้าวโพดหมักเพียงอย่างเดียวไม่มีการผสมกระถิน มีระดับโปรตีน 1.87, ไขมัน 0.54, NDF 13.8, ADF 10.41, NFE 16.26 และ TDN 18.51 เปอร์เซ็นต์ สูตรอาหารหมักที่ใช้ต้นข้าวโพดผสมกระถินที่ระดับ 10 เปอร์เซ็นต์ มีระดับโปรตีน 3.47, NDF 13.39, ADF 10.62, NFE 20.38 และ TDN 23.72 เปอร์เซ็นต์ และสูตรอาหารหมักที่ใช้ต้นข้าวโพดผสมกระถินที่ระดับ 20 เปอร์เซ็นต์ มีระดับ โปรตีน 3.89, NDF 15.35, ADF 14.02, NFE 17.62 และ TDN 22.22 เปอร์เซ็นต์
 
การศึกษาสมรรถภาพการผลิตแพะเนื้อ โดยการใช้ต้นข้าวโพดหมักร่วมกับกระถินที่ระดับ 0, 10 และ 20 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ไม่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตแพะเนื้อ (P>0.05) โดยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 1,666.67+875.60, 1,750.00+418.33 และ1,833.33+258.20 กรัมต่อตัว ตามลำดับ อัตราการเจริญเติบโตเท่ากับ 29.76+15.63, 31.25+7.47 และ 32.74+4.61 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวเท่ากับ 8.80+3.75, 7.26+1.42, และ 6.93+1.07 ตามลำดับ
 
 
โครงการวิจัยย่อยที่ 6 การปรับปรุงการผลิตแพะเนื้อโดยวางแผนการจัดฤดูผสมพันธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสืบพันธุ์จากการวางแผนการจัดฤดูผสมพันธุ์ในการผลิตแพะเนื้อ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยใช้แม่แพะเนื้อลูกผสมพื้นเมืองxบอร์ จำนวน 30 ตัว แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1 ได้รับการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติโดยใช้พ่อพันธุ์คุมฝูง กลุ่มที่ 2 ได้รับการผสมพันธุ์แบบจัดฤดูผสมพันธุ์โดยใช้วิธีพ่อพันธุ์คุมฝูงในพื้นที่ที่กำหนด และกลุ่มที่ 3 ได้รับการผสมพันธุ์แบบจัดฤดูผสมพันธุ์โดยการใช้คอกผสมพันธุ์ ทำการทดลองโดยกำหนดระยะเวลาฤดูผสมพันธุ์ 6 สัปดาห์ ทำการเก็บค่าประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ ผลการทดลองพบว่า น้ำหนักตัวเฉลี่ยของแพะแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ค่าประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ ได้แก่ จำนวนการผสมติด จำนวนแม่แพะที่ให้ลูกแฝด อัตราการการตั้งท้อง อัตราการคลอดลูก อัตราการให้ลูกแฝด และขนาดครอกแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05)
 
 
โครงการวิจัยย่อยที่ 7 การใช้มูลแพะเพิ่มผลผลิตของแหนแดงเพื่อลดต้นทุนในการเลี้ยงปลาตะเพียนขาว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาผลของการเสริมแหนแดงจากปุ๋ยมูลแพะต่อการเจริญเติบโตของปลาตะเพียนขาว ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 การทดลองย่อย ๆ คือ 1. การศึกษาโภชนะที่เป็นองค์ประกอบในแหนแดงจากปุ๋ยมูลแพะ การทดลองย่อยที่ 2. การศึกษาการเพิ่มผลผลิตของแหนแดงด้วยปุ๋ยมูลแพะ และการทดลองย่อยที่ 3. ผลของการเสริมแหนแดงจากปุ๋ยมูลแพะในอาหารปลาตะเพียนขาวในระดับปริมาณที่แตกต่างกัน ได้แก่ 0, 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ในสูตร โดยมีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ทำการทดลองเลี้ยงปลาตะเพียนขาวด้วยอาหารทดลองทั้ง 4 สูตร โดยให้อาหารปลาในปริมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน แบ่งให้วันละ 3 มื้อ ทำการสุ่มชั่งน้ำหนักเพื่อปรับปริมาณอาหารและเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตทุก 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์
 
เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปลาตะเพียนขาวที่ได้รับอาหารเสริมแหนแดงจากปุ๋ยมูลแพะในทุกระดับปริมาณ มีค่าน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นต่อวัน ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และอัตราการรอดตาย มีค่าเทียบเท่ากับชุดควบคุม (P > 0.05) ส่วนการศึกษาต้นทุนค่าอาหาร พบว่า ต้นทุนของอาหารที่มีการเสริมแหนแดงจากปุ๋ยมูลแพะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าชุดควบคุม โดยต้นทุนค่าอาหารสัตว์น้ำจะมีราคาต่ำลงเมื่อมีการใช้แหนแดงในปริมาณที่เพิ่มขึ้นในสูตรอาหาร ดังนั้นการใช้แหนแดงจากปุ๋ยมูลแพะเสริมในอาหารปลาตะเพียนขาว มีผลต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลาที่เทียบเท่ากับชุดควบคุม และมีผลทำให้ต้นทุนค่าอาหารสัตว์น้ำต่ำลง




Sub Project 1: Data Science analysis and prediction in support of the decision to planning Goat production. The prediction meat goat growth data for modeling and forecasting of mixed breed meat goats Comparison between Linear Regression (SLR) and Multi Linear Regression (MLR) algorithms, showing each data as a dot (Scatter) according to the growth rate and weight, training rate 80%, testing rate 20% to be analyzed to determine the rate. Growth of meat goats aged 0 – 4 months, 4-12 months and 12-24 months, growth rates at birth 0 – 4 months, Bore-Thai native and Anglo-Nubian breeds Indigenous Thai, found that these 2 strains were growing at birth 0 months to 4 months at 15-17 kg. and black species Bango-Anglo-Nubian have similar growth rates Growth rate from 4 months to 12 months of age. Bor-Thai Native. The growth rate is between 80-90 kg. Anglo-Nubian-Thai native species. There is a smaller proportion, between 60-70 kg. Bor-Gol-Nubian species 55-70 kg. Black species. Bango-Anglo-Nubian There was a very spreading growth at 30-70 kg. The growth rate was from 12 months to 24 months of age. Bor-Thai native. The growth rate is between 60-100 kg. Anglo-Nubian-Thai native species. has a much smaller ratio Bore-Gol Nubian breed 85-90 kg. Black breed. Bango-Anglo-Nubian It has a fairly large distribution of growth at 75-80 kg.
 
Results obtained from predicting growth data of beef goats with the Multi Linear Regression algorithm can predict goats that will grow up and be ready to be sold in the future. or cost estimation within the farm Including being able to be used in farm management, feeding, preparing breeders as well as preparations for export to the slaughterhouse and exports to foreign countries Models or models from data science algorithms are used to make decisions. Including goats that are suitable for breeding fathers as models for goat-sheep community enterprise groups. Mueang Phetchabun District Phetchabun Province and groups of farmers who are interested in applying computer technology to their farms or those who are about to start raising meat goats in the future.
 
 
Sub Project 2: Development of a Real-time Data Management Application for Goat Collecting Stall of Goat Community Enterprises in Muang District Phetchabun Province. The objective of this research was to develop a real-time goat data management application for meat goat breeder community enterprises. The researcher developed the software according to the SDLC process by conducting field studies to collect data by interviewing and analyzing the needs of users, namely farmers, community enterprises, meat goat farmers. Identify functional needs, design and develop web applications in the PHP language. Design a screen that provides a user interface to store data on the MySQL database. The developed application includes a function to record user data, goat farm information, goat information, goat trading information, and the data virtualization provides summary data in various graphs displayed on the dashboard. Use via web browser on both computer, smartphone and tablet computer. and perform alpha tests by taking the simulated dataset input into the system for processing. The application performance testing by information system experts found that the results evaluated performance in 3 aspects: design, application performance, and utility. It has a total mean of 4.64, a standard deviation of 0.49 is at the highest level. It can help facilitate farmers in recording the data of the central paddock of the goat farm, and helping to manage the central paddock of the goat farm more efficiently..
 
 
Sub Project 3: Photovoltaic electric house with power monitoring system using IoT Technology for goat farms, Muang District, Phetchabun Province. This research presents a Photovoltaic electric house with power monitoring system using IoT Technology for goat farms, Muang District, Phetchabun Province. In this research, we designed and built a solar cell power generator, a standalone solar cell system (PV Standalone system), and presented a study method for finding the appropriate size of solar cell power generation according to the size and form. Independent switching of electrical loads It is used in conjunction with a battery storage. In addition, has designed a real-time electrical energy usage tracking system, which can follow the measurement voltage, current and power values and system limits. The system limits consist current limiting value, installing power limit value and percentage of load Including power changes. The average current measurement efficiency is 1.51% and the average voltage measurement is 0.24%, so that the performance and limits of the system can be monitored in real time. The results of the research found that this solar power generation system can supply power to the insect repellent lighting system to cover the required working hours of farmers, which can help farmers save electricity in goat sheds directly. Additional can be used as a learning resource in the development and application of clean energy technology along with IoT innovations in monitoring and evaluating the performance of power generation systems for groups of goat farmers and farmers interested in the Mueang district, Phetchabun Province.
 
 
Sub Project 4: Remote Grass Plot Watering Control System using Solar Power Combined Performance Monitoring System with Internet of Things Technology. This research presented a remote grass plot watering control system using solar power combined performance monitoring system with internet of things technology. The objective of this research is to design a remote grass plot watering control system using solar cell power together with a performance monitoring system using Internet of Things technology and to reduce the cost of using electrical energy and labor in watering group grass plots. Farmers who raise goats and sheep use it as a model for transferring technology innovations for controlling remote watering of grass plots using solar energy to develop into an intelligent agricultural system. In this study, the results were obtained from the actual installation work at the grass plots of the goat farmers group. The results of the test and evaluation of the performance of the control and performance monitoring set found that the average error in reading the air humidity value was at 1.98% and the air temperature was at 0.22%. In addition, the average error value in reading the soil moisture value was at 1.38%. The testing the operation of load control consisting of a water pump and 3 sets of solenoid valves, which can work precisely 10 times, which is 100 percent.
 
Moreover, A remote grass plot watering control system using solar cell power along with a performance monitoring system using Internet of Things technology. It can help create convenience in controlling and monitoring the watering of grass plots remotely via the internet network.
 
 
Sub Project 5: Nutritive Value and Effect of Corn Stalks Mixed Leucaena Silage on Goat Productive Performance. The objective of this research was to study the nutritive value and production performance of meat goats fed with corn stalks Mixed leucaena silage at levels of 0, 10 and 20 percent. The experiment was conducted on meat goats aged 3-4 months for a period of 56 days and divided into 3 groups, each group had 6 replications. The results of the nutritive value found that corn stalks silage, no leucaena mixed, has crude protein 1.87, fiber 8.73, NDF 13.8, ADF 10.41, NFE 16.26 and TDN 18.51 percent. Corn stalks and 10% leucaena mixed silage, has crude protein 3.47, fiber 8.16, NDF 13.39, ADF 10.62, NFE 20.38 and TDN 23.72 percent. Corn stalks and 20% leucaena mixed silage, has crude protein 3.89, fiber 10.25, NDF 15.35, ADF 14.02, NFE 17.62 and TDN 22.22 percent.
 
Study on performance of meat goat production by using corn stalks and leucaena mixed silage at levels of 0, 10 and 20 percent, it was found that the production performance of the three groups of meat goats was not different (P>0.05). The body weights were increased 1,666.67+875.60, 1,750.00+418.33 and 1,833.33+258.20 grams/head, respectively. The Average daily gains were 29.76+15.63, 31.25+7.47 and 32.74+4.61 grams/head/day, respectively and Feed conversion ratios were 8.80+3.75, 7.26+1.42 and 6.93+1.07, respectively.
 
 
Sub Project 6 Beef Goat Production Improvement through Seasonal Breeding Plan, Mueang District, Phetchabun Province. The objective of this study was to compare reproductive efficiency from breeding season planning in meat goat production. 30 Native-Bore Crossbred Goats, divided into 3 experimental groups of 10 goats each. Group 1 was naturally breeding using goat breeder to control the herd, Group 2 was bred in breeding season using goat breeder to control the herd in a designated area, and Group 3 was bred in breeding season by using a breeding pen. The experiment was conducted with a 6-week mating season period to collect reproductive efficiency. The results showed that the average body weight of the goats was not significantly different (P>0.05). Reproductive efficiencies included inseminate per conception. Number of the goats giving birth to twins, pregnancy rate, kidding rate, multiple birth rate and the litter sizes differed without statistical significance (P>0.05)
 
 
Sub Project 7: Use of Goat Feces to Increase Azolla spp. Yield for Cost Reduction of Silver Barb (Barbonymus gonionotus Bleeker, 1850) Culture. The objective of this research was to study the effect of supplementing Azolla spp. raised with goat manure on growth of silver barb. Which is divided into 3 sub-experiments: 1. The study of nutrients that are constituents in Azolla spp. raised with goat manure. 2. The study of the increased productivity of Azolla spp. raised with goat manure. And 3. The effect of supplemented Azolla spp. raised with goat manure in silver barb diet at different quantity including 0, 10, 20 and 30 percent in the feed formula. Three randomized, complete randomized trials (CRD) were planned. The silver barb were fed at 5% of their body weight per day, divided into three meals a day. Weight to adjust food intake and growth data were collected every 2 weeks for a period of 8 weeks.
 
At the end of the experiment, it was found that silver barb that were fed feed were supplemented with Azolla spp. raised with goat manure at all dosage levels. has the final weight, weight gain, weight gain per day, feed intake, feed conversion ratio and survival rate have value was equivalent to the control (P>0.05). As for the study of feed costs, it was found that the cost of feed supplemented Azolla spp. raised with goat manure was lower than the control. The cost of aquatic animal feed will be lower when Azolla is used in an increased amount in the feed formula.
 
Therefore, using of Azolla raised with goat manure in silver barb diet had an effect on the growth and survival rate of fish that was comparable to the control. and has the effect of lowering the cost of aquatic animal feed.

คำสำคัญ

เทคโนโลยีและนวัตกรรม, ความสามารถในการแข่งขัน, วิสาหกิจชุมชน, แพะเนื้อ, Technology and Innovation, Enhance Competitiveness, Community Enterprises, Beef Goat

หมายเหตุ

ดำเนินการเสร็จสิ้น